โจรกรรมที่เด่น ๆ ของ คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย

ในตลาด

การแฮ็กตลาดที่เด่น ๆ แล้วมีผลเป็นโจรกรรมของคริปโทเคอร์เรนซีรวมทั้ง[1]

  • Bitstamp - ในปี 2015 บิตคอยน์มูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 171 ล้านบาท) ถูกขโมย
  • Mt. Gox - ระหว่างปี 2011-2014 บิตคอยน์มูลค่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,369 ล้านบาท) ถูกขโมย
  • Bitfinex - ในปี 2016 บิตคอยน์มูลค่า 72 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,541 ล้านบาท) ถูกขโมยจากวอลเลตของตลาด ต่อมาผู้ใช้บริการได้เงินคืน
  • NiceHash - ในปี 2017 คริปโทเคอร์เรนซีกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,036 ล้านบาท) ถูกขโมย[2]
  • Coincheck - โทเค็น NEM มูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 12,606 ล้านบาท) ถูกขโมยในปี 2018[3]

เงินสกุลต่าง ๆ

ในเหตุการณ์ปี 2016 ที่เรียกว่า DAO event การถือเอาประโยชน์ของสัญญาสมารต์ในเงินสกุล Ethereum มีผลเป็นการลักเงินมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,765 ล้านบาท)ต่อมาเงินสกุลนี่จึงแยกแบบ hard fork ออกเป็นเงินสกุล Ethereum Classic และ Ethereum และเงินสกุลหลังดำเนินการโดยไม่รวมธุรกรรมที่เป็นโจรกรรมเข้าในบล็อกเชน

ในปี 2017 บริษัทพึ่งก่อตั้ง Tether ซึ่งทำงานร่วมกับตลาดแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ ประกาศว่าบริษัทถูกแฮ็ก และได้เสียเงินมีมูลค่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,052 ล้านบาท) จากวอลเลตหลักของบริษัท[4]แต่บริษัทก็ได้ติดป้ายเงินที่ถูกขโมยไป โดยหวังว่า จะทำให้ขโมยไม่สามารถใช้เงินได้

บิตคอยน์

มีการขโมยบิตคอยน์หลายเหตุการณ์มาก[5]วิธีหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อมีบุคคลที่สามสามารถเข้าถึงกุญแจส่วนตัวสำหรับที่อยู่บิตคอยน์ของเหยื่อ[6]หรือเกิดจากการใช้วอลเลตออน์ไลน์[7]เพราะถ้ากุญแจส่วนตัวถูกขโมย บิตคอยน์ของที่อยู่ซึ่งคู่กันก็สามารถโอนไปที่อยู่อื่นได้ในกรณีนี้ เครือข่ายจะไม่สามารถระบุว่าใครเป็นขโมย ระงับธุรกรรมเนื่องกับบิตคอยน์ที่ถูกขโมย หรือว่าคืนเงินให้กับเจ้าของโดยชอบธรรม[8]

การขโมยยังเกิดขึ้นในเว็บไซต์ที่ใช้ซื้อของผิดกฎหมายในเดือนพฤศจิกายน 2013 บิตคอยน์มูลค่าประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,072 ล้านบาท) อ้างว่า ถูกขโมยไปจากตลาดขายของผิดกฎหมายออนไลน์ คือ Sheep Marketplace ซึ่งผู้ดำเนินการได้ปิดตลาดโดยทันที[9]ผู้ใช้ได้พยายามติดตามเหรียญเหล่านั้นเมื่อมีการทำธุรกรรมหรือเปลี่ยนเป็นเงินสด แต่ก็ไม่สามารถได้เงินคืน และไม่พบผู้เป็นขโมย[9]ตลาดมืดอีกแห่งคือ Silk Road 2 ได้อ้างว่า เมื่อถูกแฮ็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 บัญชีกลางที่เก็บเงินไว้เพื่อจ่ายให้ผู้ขายเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าได้ถูกขโมยบิตคอยน์มีมูลค่า 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 88 ล้านบาท)[10]

เว็บไซต์ที่ผู้ใช้แลกเปลี่ยนบิตคอยน์เพื่อเงินสด หรือเก็บกุญแจไว้ในวอลเลตของเว็บไซต์ ก็เป็นเหยื่อของขโมยด้วยเช่น

  • บริการวอลเลตในออสเตรเลีย Inputs.io ถูกแฮ็กสองครั้งในเดือนตุลาคม 2013 และได้สูญบิตคอยน์มูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 31 ล้านบาท)[11]
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ตลาดแลกเปลี่ยนเงินเสมือนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกในเมืองโตเกียวคือ Mt. Gox ได้ถึงการล้มละลายและรายงานว่า ได้สูญบิตคอยน์มูลค่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,369 ล้านบาท)[12] โดยในที่สุดประธานบริหารก็ถูกจับในข้อหายักยอกทรัพย์[13]
  • ในเดือนมีนาคม 2014 บริษัทในแคนาดา Flexcoin ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวกับการเก็บบิตคอย์ ได้ปิดบริษัทหลังจากพบการขโมยบิตคอยน์มูลค่ากว่า 650,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21 ล้านบาท)[14]
  • ตลาดค้าเงินดิจิทัล Poloniex ได้รายงานในเดือนเดียวกันว่า ได้สูญบิตคอยน์มูลค่าราว ๆ 50,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านบาท)[15]
  • ในเดือนมกราคม 2015 ตลาดแลกเปลี่ยนบิตคอยน์อังกฤษที่ใหญ่เป็นอันดับสามในโลกคือ bitstamp ถูกแฮ็กและสูญบิตคอยน์มูลค่ากว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (171 ล้านบาท)[16]
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ตลาดจีน BTER สูญบิตคอยน์มูลค่ากว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 69 ล้านบาท) เพราะนักเลงคอมพิวเตอร์[17]

ตลาดแลกเปลี่ยนหลักแห่งหนึ่งคือ Bitfinex ถูกแฮ็กและสูญบิตคอยน์กว่า 120,000 เหรียญมูลค่าราว 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,118 ล้านบาท)ทำให้บริษัทต้องหยุดพักตลาดชั่วคราวเป็นการขโมยบิตคอยน์จำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก โดยน้อยกว่าการขโมยตลาด Mt. Gox ในปี 2014 เท่านั้น[18]ต่อมาบริษัทจึงได้ค่อย ๆ ใช้เงินคืนให้กับลูกค้าทั้งหมด[19][20][21]

โจรกรรมได้สร้างความเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ที่เปรียบเทียบเงินดิจิทัลสกุลต่าง ๆ ได้กล่าวไว้ว่า "มันเป็นเครื่องเตือนใจถึงความบอบบางของโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมที่พึ่งเริ่มใหม่เช่นนี้"[22]ตามการให้การต่อหน้าคณะกรรมการธุรกิจย่อยของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในเดือนเมษายน 2014 "พ่อค้าเหล่านี้ไร้การควบคุมดูแลโดยกฎหมาย ไม่มีมาตรฐานเงินทุน และไม่ป้องกันผู้บริโภคต่อการสูญเสียหรือการขโมย"[23]

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต

ดูบทความหลักที่: คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต

ในปี 2017 ความบกพร่องในคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตแบบต้องลงนามหลายคนและทำให้เกิดผลด้วยสัญญาสมาร์ต คือ Parity Wallet ทำให้ผู้บริโภคเสียคริปโทเคอร์เรนซีมูลค่าราว 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,018 ล้านบาท)[1]

ใกล้เคียง

คริปโทเคอร์เรนซี คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย คริปโตไนต์ คริปโต.คอม อารีนา คริปโทแซนทิน คริสโตเฟอร์ โนแลน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คริสโตเฟอร์ โรบิน (ภาพยนตร์) คริสโตเฟอร์ โนวินสกี

แหล่งที่มา

WikiPedia: คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย http://www.techworld.com.au/article/405849/mac_os_... http://www.bbc.com/news/technology-25233230 http://ww2.cfo.com/cyber-security-technology/2016/... http://www.coindesk.com/bitfinex-reimburses-first-... http://www.coindesk.com/nearly-150-strains-malware... http://www.computerworld.com/article/2488144/malwa... http://www.eset.com/int/about/press/articles/artic... http://www.fastcompany.com/3027373/fast-feed/anoth... http://www.financemagnates.com/cryptocurrency/trad... http://business.financialpost.com/2014/03/05/after...